วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มรดกโลกทางวัฒนธรรม World Cultural Heritage

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ยูเนสโก (UNESCO) ศูนย์มรดกโลก (World Heritage Center) คณะกรรมการมรดกโลก
ผู้ประเมินมรดกโลกทางธรรมชาติ IUCN
ผู้ประเมินมรดกโลกทางวัฒนธรรม อิโคโมส (ICOMOS) หรือ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites)
กรมศิลปากร สมัครเป็นสมาชิก อิโคโมส และจัดตั้งอิโคโมสไทยขึ้นในลักษณะองค์กรอิสระสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
กรมศิลปากร เป็นหนึ่งในคณะกรรมการมรดกโลกของไทย

ข้อมูลแหล่งมรดกโลก (ถึงปี ๒๐๐๙)
ประเทศสมาชิกอนุสัญญา ๑๘๖ ประเทศ
แหล่งมรดกโลกขึ้นบัญชีแล้วใน ๑๔๘ ประเทศ
มีจำนวนแหล่งมรดกโลกทั้งสิ้น ๘๙๐ แหล่ง ประกอบด้วย มรดกโลกทางวัฒนธรรม ๖๘๙ แหล่ง
ทางธรรมชาติ ๑๗๖ แหล่ง และแบบผสม ๒๕ แหล่ง

World Heritage List : Thailand
1. Historic City of Ayutthaya (1991)
2. Historic Town of Sukhotai and Associated Historic Towns (1991)
3. Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries (1991)
4. Ban Chiang Archaeological Site (1992)
5. Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex (2005)

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage
รับรองในการประชุมใหญ่สมัยสามัญครั้งที่ ๑๗ ของยูเนสโก ปารีส ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๗๒ (พ.ศ.๒๕๑๕)
จากชื่อจะเห็นว่าเน้นเป้าหมายเพื่อการปกป้องคุ้มครอง
ข้อ ๑ คำจำกัดความ
มรดกทางวัฒนธรรม
a.Monuments b.Group of Buildings c.Sites
มีคุณค่า Outstanding Universal Value
คุณค่าทางสุนทรียภาพ ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ทางวิชาการ และทางสังคม
สำหรับกลุ่ม b ได้พิจารณารวมถึง Groups of Urban Buildings
และสำหรับกลุ่ม c ได้พิจารณารวมถึงสิ่งที่เรียกว่า Cultural Landscape
(ขยายความตาม Operational Guidelines)
ข้อ ๔ – ๗ หลักประกันในการคุ้มครองป้องกัน การอนุรักษ์ มาตรการในการจัดการ การรักษาคุณค่า โดยเจ้าของมรดกทำเอง หรือ อาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ
ให้มีการกำหนด Core Zone, Buffer Zone (พื้นที่กันชน) และจัดทำแผนบริหารจัดการ
ข้อ ๘ คณะกรรมการมรดกโลก ๒๑ ชาติ
และที่ปรึกษา ได้แก่ ICCROM ICOMOS IUCN คณะกรรมการมรดกโลกของรัฐภาคี
(มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญมากพอด้านมรดก)
ข้อ ๑๑ การบรรจุในบัญชีมรดกโลกต้องได้รับการยินยอมจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง
กรณีมีที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตมากกว่าหนึ่งรัฐ และต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดการโต้แย้งจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง
บัญชีมรดกโลกในภาวะอันตราย World Heritage in Danger
(ปัจจุบัน มี ๓๑ แหล่ง โดยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ๑๖ แหล่ง)
ข้อ ๑๔ สำนักงานคณะกรรมการมรดกโลก แต่งตั้งโดยผู้อำนวยการยูเนสโก
ข้ออื่นๆ เงินกองทุน และการขอความช่วยเหลือ ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ การอบรม

"Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention"
แนวทางปฏิบัติ...Operational Guidelines... ระบุไว้ในข้อ ๖๔ ว่า
ในการเตรียม รายชื่อชั่วคราวของแหล่งที่จะเสนอ (Tentative List) เน้นการมีส่วนร่วม
ขอให้ประเทศภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการแหล่ง หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นและภูมิภาค ชุมชนท้องถิ่น องค์กรอิสระ และภาคส่วนอื่นๆที่สนใจ
ข้อ ๗๗ Outstanding Universal Value (OUV)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณค่าความเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
I. represent a masterpiece of human creative genius; or
เป็นผลงานชิ้นเอกที่แสดงอัจฉริยภาพในทางสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ หรือ

II. exhibit an important interchange of human values over a span of time or within a cultural area of the world, on developments in architecture or technology, monumental arts, town-planning or landscape design; or
แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ข้ามช่วงเวลา หรือภายในเขตพื้นที่วัฒนธรรมใดใดในโลก ในด้านพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม หรือ เทคโนโลยี งานศิลปะขนาดใหญ่ การวางผังเมือง หรืองานออกแบบทางภูมิทัศน์ หรือ

III. bear a unique or at least exceptional testimony to a cultural tradition or to a civilization which is living or which has disappeared; or
เป็นพยานหลักฐานเพียงหนึ่งเดียว หรืออย่างน้อยเป็นอันที่สำคัญยิ่งของประเพณี หรือ อารยธรรมที่ยังดำรงอยู่ หรือที่ได้สูญหายไปแล้ว หรือ

IV. be an outstanding example of a type of building or architectural or technological ensemble or landscape which illustrates (a) significant stage(s) in human history; or
เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของรูปแบบอาคาร หรือ สถาปัตยกรรม หรือเทคโนโลยี หรือ ภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงยุคสมัยใดที่สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ หรือ

V. be an outstanding example of a traditional human settlement or land-use which is representative of a culture (or cultures), especially when it has become vulnerable under the impact of irreversible change; or
เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตามประเพณี หรือ ของการใช้ที่ดินที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมหนึ่งหรือหลายวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้กลายเป็นสิ่งที่เปราะบางภายใต้ความกดดันของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคืนสภาพได้อีก หรือ

VI. be directly or tangibly associated with events or living traditions, with ideas, or with beliefs, with artistic and literary works of outstanding universal significance
มีความเกี่ยวข้องโดยตรงหรือสัมผัสได้กับเหตุการณ์ หรือประเพณีที่ยังสืบต่อกันมา หรือกับความคิด หรือความเชื่อ กับงานศิลปะ และวรรณกรรมที่มีความโดดเด่นสำคัญเป็นเลิศ
ข้อ ๗๘ มรดกที่มีคุณค่าจะต้องมีความเป็นของแท้ ความครบถ้วน และมีการคุ้มครอง แผนการจัดการที่เหมาะสม

เกณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ชี้วัดคุณค่าทางวัฒนธรรม
ความเป็นของแท้ (Authenticity) และความครบถ้วน (Integrity)
ความเป็นของแท้ ตามที่อ้างอิงจาก The Nara Document on Authenticity 1994 ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยสากลนับตั้งแต่การลงมติในที่ประชุมมรดกโลก ครั้งที่ ๑๘ ซึ่งจัดขึ้นที่ภูเก็ต ประเทศไทย ในปี ค.ศ.๑๙๙๔ นั้น ระบุว่า “การตัดสินใจความเป็นของแท้ สามารถเชื่อมโยงได้กับคุณค่าของโบราณสถานที่หลากหลายของแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยเหตุที่ความเป็นของแท้นั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของมรดกทางวัฒนธรรมและบริบททางวัฒนธรรม ซึ่งถูกนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายเช่นกัน ได้แก่ รูปทรง แนวคิดในการออกแบบ วัสดุ การใช้งาน ประโยชน์ใช้สอย ประเพณี และเทคนิค สถานที่ตั้ง และสภาพโดยรอบ จิตวิญญาณ และความรู้สึก การใช้แหล่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาซึ่งการศึกษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งในเรื่องของศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ สังคม และวิชาการ”
โดยทั่วไปการตรวจสอบระดับความเป็นของแท้ของมรดกสิ่งก่อสร้าง อาจแบ่งออกได้เป็น
ความเป็นของแท้ ของการออกแบบ รวมความถึงลักษณะหรือองค์ประกอบที่แสดงถึงการออกแบบทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และประโยชน์การใช้สอย ให้ตรวจสอบว่ารูปแบบ รูปทรง ลักษณะการออกแบบของมรดกสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ยังมีความเป็นของแท้หรือไม่
ความเป็นของแท้ของวัสดุ ได้แก่วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ให้ตรวจสอบว่ายังมีส่วนที่เป็นวัสดุเดิมของแท้ มากน้อยเพียงใด มีการใช้วัสดุใหม่โดยเคารพต่อวัสดุดั้งเดิมด้วยการทำให้สามารถแยกแยะได้หรือไม่
ความเป็นของแท้ของฝีมือช่าง ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและการตกแต่ง แสดงถึงเทคนิควิธีการของช่างที่ใช้ในการก่อสร้าง ประดับประดา ตลอดจนการอนุรักษ์ ให้ตรวจสอบว่าฝีมือช่างของแท้ยังคงเห็นได้อยู่หรือไม่ ในปริมาณมากน้อยเพียงใด
ความเป็นของแท้ของสภาพโดยรอบ (Setting) คือ แหล่งที่ตั้งและสภาพโดยรอบของมรดกสิ่งก่อสร้าง ยังคงมีความเชื่อมต่อกับช่วงเวลาของการก่อสร้างมรดกสิ่งก่อสร้าง ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ หรือ เมืองโบราณนั้นหรือไม่ ให้ดูว่าสภาพโดยรอบนั้นยังมีลักษณะที่สัมพันธ์กับมรดกสิ่งก่อสร้างอยู่หรือไม่
นอกจากลักษณะทางกายภาพ ยังรวมถึงความเป็นของแท้ของ ประโยชน์ใช้สอย ประเพณี ภาษา วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จิตวิญญาณ ความรู้สึก
ความครบถ้วน ในที่นี้หมายถึงความครบถ้วนขององค์ประกอบของโบราณสถานที่ผสานกลมกลืนกัน ทั้งที่เป็นสิ่งก่อสร้างและองค์ประกอบของสภาพโดยรอบที่มีความเกี่ยวข้องกันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วย การจะพิจารณาว่า อาคารหรือมรดกสิ่งก่อสร้างนั้นๆ มีคุณค่าหรือไม่ นอกจากจะวัดด้วยความเป็นของแท้แล้วจึงต้องตรวจสอบด้วยว่าได้มีการพิจารณาครอบคลุมองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับแหล่งนั้นอย่างครบถ้วนหรือยัง มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่โบราณสถานที่สอดคล้องกับคุณค่าของสิ่งก่อสร้างนั้นหรือไม่
คุณภาพของข้อมูล (Quality)
นอกจากนี้จากกรณีของมรดกสิ่งก่อสร้างที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปจากรูปแบบดั้งเดิม ด้วยการดำเนินการในอดีตไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมหรือรื้อถอนเพื่อการใช้สอย ตามสมัยนิยม หรือตามความต้องการของผู้ครอบครองในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตลอดจนการอนุรักษ์ หรือการปฏิสังขรณ์รื้อฟื้นรูปแบบดั้งเดิมกลับมาอีกครั้ง การที่จะพิจารณาว่าลักษณะแห่งการก่อสร้างของอาคาร มีประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดีหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนของข้อมูล การบันทึกสภาพ หลักฐานที่มีอยู่ก่อนการดำเนินการ คุณภาพของข้อมูลหลักฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อรื้อฟื้นรูปแบบดั้งเดิม แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับโดยสากลดังปรากฏในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมและกฎบัตรต่างๆ เช่น “...(Reconstruction is acceptable if it is carried out on the basis of complete and detailed documentation on the original and to no extent on conjecture.)“ จาก ความเห็นของคณะกรรมการมรดกโลก ปรากฏใน Management Guidelines for World Cultural Heritage Sites

มาตรการในการรักษาคุณค่าของมรดก
การคุ้มครอง (Protection) และ การจัดการ (Management)
มาตรการทางกฎหมาย ข้อบัญญัติ กฎระเบียบต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ ระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน
การกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะปกป้องคุ้มครอง Boundaries - Core Zone (สผ. เรียก พื้นที่สงวน)
Buffer Zone เขตพื้นที่โดยรอบพื้นที่มรดกที่มีการควบคุมเพื่อปกป้องคุณค่าของมรดก (สผ.เรียก พื้นที่อนุรักษ์)
การวางระบบการจัดการ เช่นการจัดทำแผนบริหารจัดการ แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนา

ข้อ ๑๑๙ (ข้อสุดท้าย) ย้ำในเรื่อง การใช้สอยอย่างยั่งยืน (Sustainable use) คำนึงถึงเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมและการสืบสานทางวัฒนธรรม

มรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร)
Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns
ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามหลักเกณฑ์ข้อที่ I และ III
• เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของสยามระหว่าง ศต.ที่ ๑๓-๑๔ ประกอบด้วยโบราณสถานอันสวยงามซึ่งแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย อารยธรรมยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยได้รับอิทธิพลที่หลากหลายรวมถึงประเพณีโบราณของท้องถิ่น องค์ประกอบต่างๆนี้รวมกันเป็นรูปแบบ ศิลปะแบบสุโขทัย

นครประวัติศาสตร์อยุธยา
Historic City of Ayutthaya
ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามหลักเกณฑ์ข้อที่ III
• อยุธยาก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ และเป็นเมืองหลวงของสยามแห่งที่สองต่อจากสุโขทัย อยุธยาถูกทำลายโดยพม่าในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ หลักฐานที่คงเหลืออยู่ได้แก่ปรางค์และวัดวาอารามต่างๆซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญ รุ่งเรืองของอยุธยาในอดีต

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี
Banchiang Archaeological Site
ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามหลักเกณฑ์ข้อที่ III
• บ้านเชียงจัดว่าเป็นแหล่งอยู่อาศัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่าที่มีการค้นพบกันมา แสดงถึงพัฒนาการที่สำคัญด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี บ้านเชียงยังแสดงถึงหลักฐานด้านการปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาครวมถึงการผลิตและการใช้เหล็ก

การพ้นจากการเป็นมรดกโลก
จนถึงปัจจุบันมีเพียงสองแหล่งเท่านั้น มรดกโลกแรกที่ถูกถอดถอนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
แหล่งอาศัยของโอริกซ์สายพันธุ์อาระเบีย ประเทศโอมาน
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พ.ศ. ๒๕๓๗ และถูกถอดถอน พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจากประเทศโอมานมีนโยบายลดบริเวณเขตสงวนซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของตัวโอริกซ์สายพันธุ์อาระเบียลงถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบันโอริกซ์ - สัตว์ใกล้สูญพันธุ์คล้ายกวางและมีเขายาว ลดจำนวนลงจาก ๔๕๐ ตัวเหลือเพียง ๖๕ ตัว
มรดกโลกล่าสุดที่ถูกถอดถอนในปี พ.ศ.๒๕๕๒ นี้ คือ ลุ่มแม่น้ำเอลเบเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมัน
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พ.ศ.๒๕๔๗ ในลักษณะภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) เนื่องจากโครงการก่อสร้างสะพานขนาด ๔ เลน เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่

Tentative List : Thailand
Phuphrabat Historical Park (01/04/2004) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี
เสนอตามหลักเกณฑ์ II, III, IV, VI
2. Phimai, its Cultural Route and the Associated Temples of Phanomrung
and Muangtam (01/04/2004)
พิมาย เส้นทางวัฒนธรรม และปราสาทที่เกี่ยวข้อง พนมรุ้ง และเมืองต่ำ
เสนอตามหลักเกณฑ์ I, II, III, IV, VI

แนวทางล่าสุดทางด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรม
นอกเหนือจากแนวทางตามกฎบัตรการอนุรักษ์โบราณสถาน (Monuments and Sites) ที่รู้จักในนามของกฎบัตรเวนิช (Venice Charter) ที่ยึดถือกันมาแต่เดิม
กฎบัตรอิโคโมสสากลที่รับรองในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ ๑๖ ของอิโคโมส ณ เมืองควิเบค กันยายน ๒๕๕๑
The ICOMOS Charter for the Interpretation and Presentation of Cultural Heritage Sites
กฎบัตรอิโคโมสสำหรับการสื่อความหมายและการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรม
เน้นการสร้างความเข้าใจในคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ที่ยังอยู่บนพื้นฐานของความเป็นของแท้ ไม่ใช่การสร้างหลักฐานใหม่ที่ไม่มีอะไรอ้างอิง
The ICOMOS Charter on Cultural Routes
กฎบัตรอิโคโมสว่าด้วยเส้นทางวัฒนธรรม
เป็นแนวทางที่ควรนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อรักษาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมประเภทเส้นทางวัฒนธรรม ที่ได้เชื่อมโยงแหล่งมรดกที่มีคุณค่า เนื้อหา ประวัติร่วมกัน ทำให้เกิดคุณค่าความสำคัญในภาพรวมมากยิ่งขึ้น
มีหัวข้อดังนี้
Research การวิจัย
Funding การหาทุน
Protection, Preservation/Conservation การปกป้องคุ้มครอง การอนุรักษ์
Sustainable Use – Relationship to Tourist Activities การใช้สอยอย่างยั่งยืน - ความสัมพันธ์กับกิจกรรมการท่องเที่ยว
Management การบริหารจัดการ
Public Participation การมีส่วนร่วมสาธารณะ

ไม่มีความคิดเห็น: