วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิสัยทัศน์ของประเทศไทยเกี่ยวกับมรดกโลก Thailand’s Vision on World Heritage


จากเอกสารแนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการมรดกโลก ของ ดร.โสมสุดา ลียะวณิช
Dr. Somsuda Leyavanija Thailand's Candidacy for the election of World Heritage Committee

1. ประเทศไทยตระหนักถึงวัตถุประสงค์หลักของ “Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage” ที่จัดทำบัญชีมรดกโลกขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองตัวมรดกและคุณค่าที่เป็นสากลทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ อันเป็นประโยชน์โดยรวมของประชาคมโลก ไม่ใช่การประกวดชิงตำแหน่งเพื่อชื่อเสียง และกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว จึงขอเน้นย้ำความจำเป็นของการกำหนดให้มีแผนการจัดการ มาตรการในการปกป้องคุ้มครองแหล่งมรดก การเตรียมความพร้อมสำหรับความเสี่ยง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นประเด็นสำคัญ รวมทั้งการรักษาคุณภาพของข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนคุณค่า(OUV) ความเป็นของแท้(Authenticity) และบูรณภาพ(Integrity)ของมรดก กล่าวคือจะต้องมุ่งรักษาผลประโยชน์ของมรดกเพื่อการใช้สอยอย่างยั่งยืน(Sustainable Use)มากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง

2. ประเทศไทยได้เล็งเห็นว่ายังมีอีกหลายประเทศที่ยังไม่มีแหล่งมรดกโลกแม้แต่แห่งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จะสามารถเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆในการส่งผ่านต่อไปยังรุ่นต่อไปได้ ขณะที่ในหลายประเทศกลับมีมรดกโลกแล้วเป็นจำนวนมาก เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาคจึงขอสนับสนุนให้มีแหล่งมรดกโลกอย่างครบถ้วนและทั่วถึงเพื่อเป็นตัวแทนของทุกอารยธรรมในโลก ไม่จำกัดเฉพาะแต่มรดกสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่โต อันถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทางกายภาพที่จับต้องได้ แต่ให้ครอบคลุมถึงตัวแทนของความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางจิตใจ และความผูกพันของกลุ่มวัฒนธรรม โดยคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Value) นี้ถือได้ว่าคือความหมายที่แท้จริงของมรดก ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณและองค์ความรู้ในการศึกษาเพื่อจัดทำเอกสารนำเสนอ น่าจะมีการตั้งกองทุนพิเศษเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะในลักษณะการจัดการที่สมดุล (Balanced Management)

3. ประเทศไทยปรารถนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างชาติต่างๆ และสันติภาพในโลก โดยอาจเกิดขึ้นได้จากการประสานงานร่วมมือในระหว่างเครือข่ายของประเทศภาคีสมาชิกที่มีลักษณะของมรดกร่วมกัน ประกอบด้วย วัฒนธรรม/ศิลปกรรม ประเภท วัสดุ เทคนิค ลักษณะของที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือสภาพปัญหา ความเสี่ยงร่วม ขอสนับสนุนการรวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกของแต่ละกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งน่าจะเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับกรอบการทำงานตามโครงการ Global Strategy โดยประเทศไทยมีความพร้อมสามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการปรึกษาหารือทั้งในด้านงบประมาณและเทคนิค


1. Thailand has perceived the core objective of the “Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage” that the listing of World Heritage Sites has been employed as a tool for protection of the heritage and their universal values, both on cultural and natural aspects, for the benefits of the world on the whole, not aiming on competition for fame and economic benefits from tourism. Therefore, the necessity of having management plan, protective measures for the heritage sites, risk preparedness, and participation by all involving parties are important issues to be emphasized. Apart from these, reliability and accuracy of scientific data and information which enhances the outstanding universal value, authenticity and integrity of the heritage must also be taken into account. In conclusion, the goal is to preserve the benefits of the heritage for sustainable use rather than economic and political benefits.

2. Thailand has observed that there are still many countries that have not had any World Heritage Site listed, especially in the case of Cultural World Heritage Sites which are representatives of the country’s culture that can be handed down to future generations, whereas there are several countries that have already had a large number of World Heritage Sites. Therefore, for fairness and equality, we support an inclusive listing of World Heritage Sites that represents all civilizations of the world, not to be limited only to large edifices that are rich in physical, tangible values, but also to include those which are representatives of historical continuity, spiritual values and inter-cultural relationships. These intangible values should be considered the true meaning of the heritage. On the aspects of budget and knowledge base for studying the preparation of proposal documents, there should be a special fund for this specific mission in the balanced management approach.

3. Thailand wishes for international friendship and peace of the world, which could be obtained via networking collaboration and cooperation between member countries that have similar characteristics of heritage comprising culture/art, types of heritage, materials, techniques, site features, topography, climates, or mutual problems and risks. We support the forming of groups for exchanging experiences, knowledge, and opinions for mutual benefits in conservation and management of World Heritage Sites of each group in the highest possible efficiency, which should be in accordance with the framework of Global Strategy Project. Thailand is ready to serve as a centre for such discussions, both in terms of budget and techniques.

ไม่มีความคิดเห็น: