ผู้จัดทำโครงการ
คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ –๒๕๕๓ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มาของโครงการ
๑. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์วิชาชีพสถาปนิก รวมทั้งบทบาทและความสำคัญของสถาปนิกที่มีต่อสังคมให้เป็นที่เข้าใจต่อบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ซึ่งแต่งตั้งโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
๒. สภาพปัจจุบันของหอพระไตรปิฎก บริเวณกุฏิคณะ ๕ วัดเทพธิดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก และทางวัดไม่มีงบประมาณในบูรณะ จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอนุรักษ์อาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในระดับชาติไว้โดยเร็ว
๓. หอพระไตรปิฎกเป็นอาคารที่สถาปัตยกรรมไทยแท้ดั้งเดิม สร้างขึ้นโดยใช้วิชาช่างครบถ้วนทุกแขนง จึงเป็นที่มาในการเลือกอนุรักษ์อาคารหลังนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในเชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ของสถาปนิกที่มีต่อสังคมแก่สมาชิกสมาคมและบุคคลทั่วไป
๒. เพื่อให้สมาคมได้มีบทบาทในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณค่าระดับชาติอย่างเป็นรูปธรรม และเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าของชาติ
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทย การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และคุณค่าของโบราณสถานให้แก่สมาชิกสมาคมและบุคคลทั่วไป
๔. เพื่อให้โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงการออกแบบที่ดีและคุณค่าของความเป็นโบราณสถานควบคู่กันไป
ขอบเขตการดำเนินโครงการ
แบ่งขอบเขตการดำเนินโครงการได้เป็น ๔ ส่วนหลัก ดังนี้
๑. งานสำรวจผังบริเวณทั้งบริเวณวัด
ทำการสำรวจผังบริเวณทั้งภายในเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส โดยวัดค่าระดับพื้นอาคารทุกหลัง และระดับพื้นลาน, ทางเดินและถนนภายในบริเวณวัด รวมทั้งทำการวัดตำแหน่งเสาไฟฟ้า และตำแหน่งต้นไม้เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่
๒. งานสำรวจรังวัดและเขียนแบบอาคารหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕
ทำการรังวัดสภาพปัจจุบัน เก็บข้อมูลการสำรวจระดับพื้นและเส้นรอบรูปอาคารทุกหลัง, ค่าระดับพื้นลานและทางเดิน, ค่าระดับรางน้ำในพื้นที่, ตำแหน่งบ่อพักและบ่อน้ำ, และระบบระบายน้ำทั้งหมดในพื้นที่อาคารบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ทุกหลังรวมทั้งหอพระไตรปิฎกอย่างละเอียด เขียนแบบสภาพปัจจุบันของอาคารทุกหลัง เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนการออกแบบบูรณะต่อไป
๓. งานออกแบบบูรณะและควบคุมการบูรณะหอพระไตรปิฎก
ทำการออกแบบและบูรณะอาคารหอพระไตรปิฎกและบริเวณโดยรอบอาคาร ทั้งส่วนที่อยู่ภายในกุฏิสงฆ์ คณะ ๕ และด้านถนนภายในของวัด เพื่อให้อาคารกลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามแบบดั้งเดิม
๔. งานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์
ทำการออกแบบปรับปรุงลาน ,ทางเดินและพื้นทีใช้สอยอื่นๆ ภายในบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและช่วยส่งเสริมคุณค่าของโบราณสถาน
๕. งานประชาสัมพันธ์
ให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปรับรู้และเข้าใจโครงการและการทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามฯที่เกิดขึ้น โดยผ่านสื่อและกิจกรรมต่างๆ
การดำเนินงานโครงการ
แบ่งการดำเนินงานโครงการได้เป็น ๕ ขั้นตอนหลัก ดังนี้
๑. งานสำรวจผังบริเวณทั้งบริเวณวัด
ทำการสำรวจทางกายภาพของกลุ่มอาคารในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส และสำรวจงานระบบภายในวัด เพื่อเป็น
ข้อมูลสำหรับทำแบบสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะ) ซึ่งจะจัดทำโดยการจ้างช่างสำรวจและช่างเขียนแบบ
๒. งานรังวัดและเขียนแบบอาคารหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕
ทำการสำรวจรังวัดอาคารภายในหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ทุกหลังรวมทั้งหอพระไตรปิฎก โดยอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ
๓. งานออกแบบและบูรณะหอพระไตรปิฎก
๓.๑ ดำเนินงานด้านโบราณคดีเพื่อการอนุรักษ์ภายในพื้นที่โดยรอบอาคารหอพระไตรปิฎก ได้แก่ การขุดตรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมของโบราณสถาน จัดทำโดยการดำเนินการจัดจ้างนักโบราณคดี
๓.๒ งานทำแบบบูรณะหอพระไตรปิฎก จัดทำโดยการดำเนินการจัดจ้างช่างเขียนแบบและประมาณการ เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และประมาณราคา โดยคณะกรรมาธิการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมด้านไทยประเพณี
๓.๓ ทำการวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบและจัดทำแบบวิเคราะห์ อ้างอิงจากข้อมูลทางวิชาการที่ได้ศึกษาเบื้องต้น แบบสำรวจรังวัดและแบบสภาพปัจจุบันของอาคารและพื้นที่โดยรอบ โดยอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ พร้อมทั้งดำเนินการจัดจ้างช่างเขียนแบบและทำงานนำเสนอ (presentation)
๓.๔ ดำเนินการหาผู้รับจ้างงานบูรณะ ให้เป็นไปตามระเบียบการจัดจ้างของสมาคมสถาปนิกสยามฯ
๓.๕ ดำเนินการบูรณะและการควบคุมงาน จัดทำโดยการจัดจ้างหรือขอความร่วมมือบริษัทที่ปรึกษา ในการควบคุมงาน โดยคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี เป็นกรรมการตรวจการจ้าง ร่วมกับตัวแทนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และวัดเทพธิดารามวรวิหาร โดยจะทำการกำหนดงบประมาณการบูรณะและควบคุมงานภายหลัง เมื่อมีการจัดทำแบบบูรณะและประมาณการเรียบร้อยแล้ว โดยทั้งนี้มีการดำเนินการขออนุญาตดำเนินการต่อกรมศิลปากร โดยจัดเตรียมแบบและเอกสารสำหรับนำเสนอกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน ก่อนการดำเนินการบูรณะ
๓.๖ ทำ As-Built Drawing เพื่อใช้เป็นหลักฐานของโครงการอนุรักษ์ จัดทำโดยสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯได้มีส่วนร่วมในโครงการ พร้อมด้วยการจัดจ้างช่างเขียนแบบ
๔. งานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์
ทำการศึกษาข้อมูล สำรวจสภาพปัจจุบันของสภาพโดยรอบของวัดและบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์คณะ ๕ จัดทำแบบวิเคราะห์สภาพภูมิทัศน์ดั้งเดิม และจัดทำแบบปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบหอพระไตรปิฎก พร้อมด้วยข้อเสนอแนะในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของทั้งวัดเพื่อส่งเสริมคุณค่าของโบราณสถาน
๕. งานประชาสัมพันธ์โครงการ
๕.๑ นำเสนอผลงานดำเนินการในงานสถาปนิก ปี ๒๕๕๒ เพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และเพื่อระดมทุนในดำเนินการอนุรักษ์
๕.๒ ประชาสัมพันธ์ผลงานการดำเนินโครงการผ่านสื่อต่างๆ
๕.๓ จัดกิจกรรมนำชมการทำงานภาคสนามของโครงการ แก่สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเกี่ยวกับมรดกสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์ โดยแบ่งเป็น ๒ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ จัดกิจกรรมนำชมงานสำรวจทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรม โบราณคดีและวิทยาศาสตร์ เพื่อทำแบบสภาพปัจจุบัน ณ หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดาราม
ครั้งที่ ๒ จัดกิจกรรมนำชมระหว่างงานบูรณะ หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดาราม
แผนการดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และสิ้นสุดใน เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๒ เดือน แบ่งการทำงานเป็น ๒ ช่วงหลัก ดังนี้
ช่วงที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ – เมษายน ๒๕๕๒
ดำเนินการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการอนุรักษ์ ดำเนินงานสำรวจรังวัด นำไปจัดทำแบบสภาพปัจจุบัน งานโบราณคดีเพื่อการอนุรักษ์ การขุดตรวจ งานวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบ จัดทำแบบวิเคราะห์ จัดทำแบบบูรณะหอพระไตรปิฎกและพื้นที่โดยรอบ พร้อมทั้งดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการจัดกิจกรรมนำชมการทำงานภาคสนามในส่วนการสำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นก่อนการบูรณะ ขออนุมัติกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะโบราณสถาน และนำเสนอผลงานการทำงานในงานสถาปนิก ๕๒ พร้อมด้วยกิจกรรมระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการบูรณะ
ช่วงที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ – เมษายน ๒๕๕๓
ดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อการระดมทุนสำหรับงานบูรณะ จัดหาผู้รับจ้างงานบูรณะ ควบคุมงานบูรณะให้เป็นไปตามรูปแบบรายการ จัดทำแบบขยาย จัดกิจกรรมนำชมกิจกรรมการบูรณะ จัดทำรายงานบันทึกขั้นตอนและเทคนิคการทำงานและแบบหลังการอนุรักษ์ และนำเสนอผลการทำงานของโครงการ ในงานสถาปนิก ๕๓
คณะที่ปรึกษาโครงการ
๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
๒. นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น
๓. ศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์
๔. รองศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล
๕. นายทวีจิตร จันทรสาขา
คณะทำงานโครงการ
๑. นายศิริชัย หวังเจริญตระกูล
๒. คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
๓. นายไพรัช เล้าประเสริฐ
๔. นายพรธรรม ธรรมวิมล
๕. นายวสุ โปษยะนันทน์
๖. นายจมร ปรปักษ์ประลัย
๗. นายวทัญญู เทพหัตถี
๘. นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ์
๙. นายสุรยุทธ์ วิริยะดำรงค์
๑๐. นางสาวหัทยา สิริพัฒนากุล
๑๑. นายภาณุวัตร เลือดไทย
๑๒. นายจาริต เดชะคุปต์
๑๓. นายพีระพัฒน์ สำราญ
๑๔. นายลีนวัตร ธีระพงษ์รามกุล
๑. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์วิชาชีพสถาปนิก รวมทั้งบทบาทและความสำคัญของสถาปนิกที่มีต่อสังคมให้เป็นที่เข้าใจต่อบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ซึ่งแต่งตั้งโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
๒. สภาพปัจจุบันของหอพระไตรปิฎก บริเวณกุฏิคณะ ๕ วัดเทพธิดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก และทางวัดไม่มีงบประมาณในบูรณะ จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอนุรักษ์อาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในระดับชาติไว้โดยเร็ว
๓. หอพระไตรปิฎกเป็นอาคารที่สถาปัตยกรรมไทยแท้ดั้งเดิม สร้างขึ้นโดยใช้วิชาช่างครบถ้วนทุกแขนง จึงเป็นที่มาในการเลือกอนุรักษ์อาคารหลังนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในเชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเรื่องบทบาทหน้าที่ของสถาปนิกที่มีต่อสังคมแก่สมาชิกสมาคมและบุคคลทั่วไป
๒. เพื่อให้สมาคมได้มีบทบาทในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณค่าระดับชาติอย่างเป็นรูปธรรม และเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าของชาติ
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทย การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และคุณค่าของโบราณสถานให้แก่สมาชิกสมาคมและบุคคลทั่วไป
๔. เพื่อให้โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงการออกแบบที่ดีและคุณค่าของความเป็นโบราณสถานควบคู่กันไป
ขอบเขตการดำเนินโครงการ
แบ่งขอบเขตการดำเนินโครงการได้เป็น ๔ ส่วนหลัก ดังนี้
๑. งานสำรวจผังบริเวณทั้งบริเวณวัด
ทำการสำรวจผังบริเวณทั้งภายในเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส โดยวัดค่าระดับพื้นอาคารทุกหลัง และระดับพื้นลาน, ทางเดินและถนนภายในบริเวณวัด รวมทั้งทำการวัดตำแหน่งเสาไฟฟ้า และตำแหน่งต้นไม้เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่
๒. งานสำรวจรังวัดและเขียนแบบอาคารหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕
ทำการรังวัดสภาพปัจจุบัน เก็บข้อมูลการสำรวจระดับพื้นและเส้นรอบรูปอาคารทุกหลัง, ค่าระดับพื้นลานและทางเดิน, ค่าระดับรางน้ำในพื้นที่, ตำแหน่งบ่อพักและบ่อน้ำ, และระบบระบายน้ำทั้งหมดในพื้นที่อาคารบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ทุกหลังรวมทั้งหอพระไตรปิฎกอย่างละเอียด เขียนแบบสภาพปัจจุบันของอาคารทุกหลัง เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนการออกแบบบูรณะต่อไป
๓. งานออกแบบบูรณะและควบคุมการบูรณะหอพระไตรปิฎก
ทำการออกแบบและบูรณะอาคารหอพระไตรปิฎกและบริเวณโดยรอบอาคาร ทั้งส่วนที่อยู่ภายในกุฏิสงฆ์ คณะ ๕ และด้านถนนภายในของวัด เพื่อให้อาคารกลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามแบบดั้งเดิม
๔. งานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์
ทำการออกแบบปรับปรุงลาน ,ทางเดินและพื้นทีใช้สอยอื่นๆ ภายในบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและช่วยส่งเสริมคุณค่าของโบราณสถาน
๕. งานประชาสัมพันธ์
ให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปรับรู้และเข้าใจโครงการและการทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามฯที่เกิดขึ้น โดยผ่านสื่อและกิจกรรมต่างๆ
การดำเนินงานโครงการ
แบ่งการดำเนินงานโครงการได้เป็น ๕ ขั้นตอนหลัก ดังนี้
๑. งานสำรวจผังบริเวณทั้งบริเวณวัด
ทำการสำรวจทางกายภาพของกลุ่มอาคารในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส และสำรวจงานระบบภายในวัด เพื่อเป็น
ข้อมูลสำหรับทำแบบสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะ) ซึ่งจะจัดทำโดยการจ้างช่างสำรวจและช่างเขียนแบบ
๒. งานรังวัดและเขียนแบบอาคารหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕
ทำการสำรวจรังวัดอาคารภายในหมู่กุฏิสงฆ์ คณะ ๕ ทุกหลังรวมทั้งหอพระไตรปิฎก โดยอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ
๓. งานออกแบบและบูรณะหอพระไตรปิฎก
๓.๑ ดำเนินงานด้านโบราณคดีเพื่อการอนุรักษ์ภายในพื้นที่โดยรอบอาคารหอพระไตรปิฎก ได้แก่ การขุดตรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมของโบราณสถาน จัดทำโดยการดำเนินการจัดจ้างนักโบราณคดี
๓.๒ งานทำแบบบูรณะหอพระไตรปิฎก จัดทำโดยการดำเนินการจัดจ้างช่างเขียนแบบและประมาณการ เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และประมาณราคา โดยคณะกรรมาธิการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมด้านไทยประเพณี
๓.๓ ทำการวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบและจัดทำแบบวิเคราะห์ อ้างอิงจากข้อมูลทางวิชาการที่ได้ศึกษาเบื้องต้น แบบสำรวจรังวัดและแบบสภาพปัจจุบันของอาคารและพื้นที่โดยรอบ โดยอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ พร้อมทั้งดำเนินการจัดจ้างช่างเขียนแบบและทำงานนำเสนอ (presentation)
๓.๔ ดำเนินการหาผู้รับจ้างงานบูรณะ ให้เป็นไปตามระเบียบการจัดจ้างของสมาคมสถาปนิกสยามฯ
๓.๕ ดำเนินการบูรณะและการควบคุมงาน จัดทำโดยการจัดจ้างหรือขอความร่วมมือบริษัทที่ปรึกษา ในการควบคุมงาน โดยคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี เป็นกรรมการตรวจการจ้าง ร่วมกับตัวแทนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และวัดเทพธิดารามวรวิหาร โดยจะทำการกำหนดงบประมาณการบูรณะและควบคุมงานภายหลัง เมื่อมีการจัดทำแบบบูรณะและประมาณการเรียบร้อยแล้ว โดยทั้งนี้มีการดำเนินการขออนุญาตดำเนินการต่อกรมศิลปากร โดยจัดเตรียมแบบและเอกสารสำหรับนำเสนอกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน ก่อนการดำเนินการบูรณะ
๓.๖ ทำ As-Built Drawing เพื่อใช้เป็นหลักฐานของโครงการอนุรักษ์ จัดทำโดยสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯได้มีส่วนร่วมในโครงการ พร้อมด้วยการจัดจ้างช่างเขียนแบบ
๔. งานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์
ทำการศึกษาข้อมูล สำรวจสภาพปัจจุบันของสภาพโดยรอบของวัดและบริเวณหมู่กุฏิสงฆ์คณะ ๕ จัดทำแบบวิเคราะห์สภาพภูมิทัศน์ดั้งเดิม และจัดทำแบบปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบหอพระไตรปิฎก พร้อมด้วยข้อเสนอแนะในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของทั้งวัดเพื่อส่งเสริมคุณค่าของโบราณสถาน
๕. งานประชาสัมพันธ์โครงการ
๕.๑ นำเสนอผลงานดำเนินการในงานสถาปนิก ปี ๒๕๕๒ เพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และเพื่อระดมทุนในดำเนินการอนุรักษ์
๕.๒ ประชาสัมพันธ์ผลงานการดำเนินโครงการผ่านสื่อต่างๆ
๕.๓ จัดกิจกรรมนำชมการทำงานภาคสนามของโครงการ แก่สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเกี่ยวกับมรดกสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์ โดยแบ่งเป็น ๒ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ จัดกิจกรรมนำชมงานสำรวจทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรม โบราณคดีและวิทยาศาสตร์ เพื่อทำแบบสภาพปัจจุบัน ณ หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดาราม
ครั้งที่ ๒ จัดกิจกรรมนำชมระหว่างงานบูรณะ หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดาราม
แผนการดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และสิ้นสุดใน เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๒ เดือน แบ่งการทำงานเป็น ๒ ช่วงหลัก ดังนี้
ช่วงที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ – เมษายน ๒๕๕๒
ดำเนินการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการอนุรักษ์ ดำเนินงานสำรวจรังวัด นำไปจัดทำแบบสภาพปัจจุบัน งานโบราณคดีเพื่อการอนุรักษ์ การขุดตรวจ งานวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบ จัดทำแบบวิเคราะห์ จัดทำแบบบูรณะหอพระไตรปิฎกและพื้นที่โดยรอบ พร้อมทั้งดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการจัดกิจกรรมนำชมการทำงานภาคสนามในส่วนการสำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นก่อนการบูรณะ ขออนุมัติกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะโบราณสถาน และนำเสนอผลงานการทำงานในงานสถาปนิก ๕๒ พร้อมด้วยกิจกรรมระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการบูรณะ
ช่วงที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ – เมษายน ๒๕๕๓
ดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อการระดมทุนสำหรับงานบูรณะ จัดหาผู้รับจ้างงานบูรณะ ควบคุมงานบูรณะให้เป็นไปตามรูปแบบรายการ จัดทำแบบขยาย จัดกิจกรรมนำชมกิจกรรมการบูรณะ จัดทำรายงานบันทึกขั้นตอนและเทคนิคการทำงานและแบบหลังการอนุรักษ์ และนำเสนอผลการทำงานของโครงการ ในงานสถาปนิก ๕๓
คณะที่ปรึกษาโครงการ
๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
๒. นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น
๓. ศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์
๔. รองศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล
๕. นายทวีจิตร จันทรสาขา
คณะทำงานโครงการ
๑. นายศิริชัย หวังเจริญตระกูล
๒. คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
๓. นายไพรัช เล้าประเสริฐ
๔. นายพรธรรม ธรรมวิมล
๕. นายวสุ โปษยะนันทน์
๖. นายจมร ปรปักษ์ประลัย
๗. นายวทัญญู เทพหัตถี
๘. นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ์
๙. นายสุรยุทธ์ วิริยะดำรงค์
๑๐. นางสาวหัทยา สิริพัฒนากุล
๑๑. นายภาณุวัตร เลือดไทย
๑๒. นายจาริต เดชะคุปต์
๑๓. นายพีระพัฒน์ สำราญ
๑๔. นายลีนวัตร ธีระพงษ์รามกุล
ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจในเรื่องการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมติดตามข่าวโครงการที่เป็นประโยชน์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯโครงการนี้ต่อไป ได้ทางเว็บไซต์ของสมาคม http://www.asa.or.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น