อาคารศาลยุติธรรม และศาลฎีกา ที่กำลังจะถูกรื้อแล้วสร้างใหม่ ในพื้นที่ประวัติศาสตร์
ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นวันนัดหมายที่นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร ได้อนุญาตให้ผู้แทนจากสามสมาคมเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ ซึ่งประกอบด้วย นางจุฬา สุดบรรทัด นายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) นายเดโช สวนานนท์ นายกสมาคมอิโคโมสไทย และ ดร.วันชัย มงคลประดิษฐ ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นางภารนี สวัสดิรักษ์ จากสมาคมอิโคโมสไทย นายวสุ โปษยะนันทน์ ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ ฯ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และนางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส ได้เข้าพบตามที่สมาคมฯ ของเราเป็นผู้ทำจดหมายไปร้องขอ ด้วยตั้งใจจะหารือกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของมรดกวัฒนธรรมในกรณีต่างๆ ที่ทั้งสามสมาคมได้มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่อาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกาซึ่งสมาคมฯได้ประกาศไว้ทั้งการเป็นอาคารควรค่าแห่งการอนุรักษ์ (Heritage @ Risk) และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปีล่าสุด ด้วยเป้าหมายที่จะแสดงให้สาธารณชนและผู้ที่มีความรับผิดชอบ ได้เห็นว่าอาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้เป็นสถาปัตยกรรมที่คุณค่าความสำคัญ ควรที่จะเก็บรักษาไว้ โดยนัยที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่จะรื้อกลุ่มอาคารดังกล่าวลงเพื่อสร้างใหม่ทั้งหมด ด้วยเพียงเหตุผลที่ว่า เป็นอาคารที่ไม่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่เหมาะกับพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ แล้วสร้างอาคารใหม่ขนาดใหญ่เต็มพื้นที่โดยนำเอาองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี(อย่างวัดหรือวัง)ขึ้นแทนที่
เนื่องจากกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ มีความเห็นว่า อาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้มีคุณค่า ไม่เฉพาะแต่ในความเป็นสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางการศาล แต่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม Modern Architecture ที่แสดงถึงการพัฒนาอย่างตะวันตกของอาคารหลังแรกและแบบโมเดิร์นที่ผสมผสานลักษณะไทย ซึ่งต้องการแสดงตัวตนของเราควบคู่ไปกับความทันสมัยของอาคารที่สร้างถัดมา ได้ทำให้อาคารแห่งนี้เป็นตัวแทนของรูปแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นสถาบันที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ แม้เบื้องต้นจะยังไม่ชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ แต่การตัดสินใจที่จะรื้อลงทั้งหมดถือเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญได้แก่การที่เป็นโครงการก่อสร้างในบริเวณใจกลางพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสนามหลวง ศาลหลักเมือง หรือคลองคูเมืองเดิม ซึ่งล้วนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และที่สำคัญที่สุดคืออยู่ใกล้กับวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง โครงการที่มิได้มีการหารือกับกรมศิลปากรในเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และมีการยกเว้นไม่ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ควบคุมความสูงของอาคารที่อาจไปบดบังมรดกวัฒนธรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าข้องใจอย่างยิ่ง
ในวันนี้กรมศิลปากรจึงเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ข้อข้องใจนี้เกี่ยวกับคุณค่าและความเป็นโบราณสถานของอาคารหลังจากที่ทั้งสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมและสมาคมอิโคโมสไทย ได้จัดการเสวนาและมีข้อสรุปที่ระบุถึงคุณค่าที่ต้องรักษาไว้ของอาคารนี้อย่างชัดเจน โดยได้ทำหนังสือแจ้งต่อประธานศาลฎีกาไปแล้ว ซึ่งจากการพบปะกันในวันนี้ก็ได้รับทราบว่า กรมศิลปากรได้พิจารณาแล้วเห็นว่า อาคารศาลยุติธรรมมีคุณค่า และลักษณะครบถ้วนตามคำนิยามของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ จึงจะได้แจ้งไปยังประธานศาลฎีกาว่า อาคารนี้เป็นโบราณสถานของชาติ ที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน ถือว่าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การจะดำเนินการใดใดต้องแจ้งต่อกรมศิลปากร นิติกรของกรมศิลปากรยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่อนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมของตน ประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิ์ที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีนี้ได้
ความจริงสมาคมสถาปนิกสยามฯก็ได้มีความพยายามตั้งคำถามนี้กับสังคมมาตั้งแต่การจัดเสวนาของกรรมาธิการอนุรักษ์ในงานสถาปนิก ๕๑ สืบเนื่องจากโครงการประกวดจัดทำข้อมูลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ และมีกิจกรรมที่แสดงถึงความเห็นคัดค้านการรื้ออาคารศาลฎีกาและก่อสร้างใหม่มาโดยตลอด แต่กระนั้นก็ยังมีคำถามจากกรมศิลปากรย้อนกลับมาบ้างว่า ในเมื่อสมาคมฯไม่เห็นด้วยกับโครงการ และสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารใหม่ก็เป็นสมาชิกของสมาคมฯ เหตุใดจึงไม่มีการดำเนินการภายในสมาคมฯเองให้ตรงจุด เหตุใดจึงต้องอ้างว่าเพราะเกรงใจจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งให้บริการออกแบบ ในขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรท่านนี้ก็เป็นสถาปนิกที่จบการศึกษาจากจุฬาฯ จึงไม่น่าที่จะนำเรื่องของสถาบันมาเกี่ยวข้องกับความถูกผิด
คริสตจักรที่ ๑ เชียงราย เป็นกรณีต่อมาที่เริ่มต้นจากการที่สมาคมฯได้รับแจ้งมาจากโครงการอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ เรื่องเกิดจากการที่ทางคริสตจักรมีโครงการจะฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีของการก่อตั้งด้วยการรื้ออาคารที่กำลังจะมีอายุครบร้อยปีนั้นแล้วสร้างอาคารหลังใหม่ให้ใหญ่โต แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการซ่อมแซมเสริมโครงสร้างที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาช่าง ซึ่งตรงนี้ก็เห็นได้ว่าเป็นอีกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่จะต้องมีการควบคุมทางวิชาชีพในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ที่ไม่ควรจำกัดเฉพาะงานก่อสร้างใหม่ และไม่ควรมีการยกเว้นการตรวจสอบสำหรับอาคารใดใด ไม่ว่าจะเป็นอาคารของรัฐหรือศาสนสถาน ในส่วนที่เกี่ยวกับกรมศิลปากร ก็ได้รับข้อมูลว่าขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่ถูกทางคริสตจักรฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการมาชี้ชัดว่าอาคารคริสตจักรมีคุณค่าเข้าข่ายที่จะเป็นโบราณสถาน ในระหว่างที่เป็นความกันนี้คาดว่าคงจะยังไม่มีการรื้ออาคารโบราณเกิดขึ้น แม้จะมั่นใจว่าจะไม่แพ้คดีแต่ทางกรมศิลปากรก็ไม่ปรารถนาที่จะให้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น อย่างเฉพาะในกรณีของวัดกัลยาณ์ฯ ขณะนี้กรมศิลปากรก็เป็นทั้งโจทก์และจำเลยในหลายคดี อยู่ตรงกลางระหว่างวัดและชุมชน
ในส่วนพื้นที่กุฎีจีนซึ่งต่อเนื่องกับวัดกัลยาณ์ฯ ก็มีกรณีของบ้านวินด์เซอร์และบ้านพาทยะโกศล อาคารทั้งสองหลังถือว่ามีคุณค่าทั้งในทางประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญและด้านสถาปัตยกรรมการตกแต่งที่อาจจะมีในระดับที่แตกต่างกัน แต่ที่มีร่วมกันคือความเสี่ยงที่จะเสื่อมสลายไป เจ้าของบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และเจ้าของที่ดินไม่เห็นคุณค่า แม้ว่ากรมศิลปากรจะเห็นและพยายามที่จะเข้าไปสำรวจจัดทำโครงการซ่อมแซม แต่ด้วยความขัดแย้งต่างๆในอดีตก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เมื่อสมาคมฯมีโอกาสเข้าไปสำรวจจัดทำข้อมูลและเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมแบบ Vernadoc ที่บ้านวินเซอร์ และเป็นตัวกลางที่จะช่วยในการขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่ต้องการคำยินยอมจากโบสถ์ซางตาครู๊สเจ้าของที่ดิน ส่วนบ้านพาทยะโกศลคงจะต้องรอดูคดีต่างๆของวัดกัลยาณ์กันต่อไป
การที่สมาคมทั้งสามได้มีโอกาสได้เข้าพบอธิบดีและข้าราชการในระดับสูงของกรมศิลปากรในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของความร่วมมือ การประสานงานในลักษณะของเครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมกันต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างเต็มที่ต่อมรดกของชาติโดยพวกเราจะช่วยกันสอดส่องดูแล รักษาให้คงอยู่ต่อไป ตามภาระหน้าที่ บทบาทและความถนัดของแต่ละฝ่าย ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน
โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่อาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกาซึ่งสมาคมฯได้ประกาศไว้ทั้งการเป็นอาคารควรค่าแห่งการอนุรักษ์ (Heritage @ Risk) และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปีล่าสุด ด้วยเป้าหมายที่จะแสดงให้สาธารณชนและผู้ที่มีความรับผิดชอบ ได้เห็นว่าอาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้เป็นสถาปัตยกรรมที่คุณค่าความสำคัญ ควรที่จะเก็บรักษาไว้ โดยนัยที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่จะรื้อกลุ่มอาคารดังกล่าวลงเพื่อสร้างใหม่ทั้งหมด ด้วยเพียงเหตุผลที่ว่า เป็นอาคารที่ไม่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่เหมาะกับพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ แล้วสร้างอาคารใหม่ขนาดใหญ่เต็มพื้นที่โดยนำเอาองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี(อย่างวัดหรือวัง)ขึ้นแทนที่
เนื่องจากกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ มีความเห็นว่า อาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้มีคุณค่า ไม่เฉพาะแต่ในความเป็นสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางการศาล แต่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม Modern Architecture ที่แสดงถึงการพัฒนาอย่างตะวันตกของอาคารหลังแรกและแบบโมเดิร์นที่ผสมผสานลักษณะไทย ซึ่งต้องการแสดงตัวตนของเราควบคู่ไปกับความทันสมัยของอาคารที่สร้างถัดมา ได้ทำให้อาคารแห่งนี้เป็นตัวแทนของรูปแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นสถาบันที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ แม้เบื้องต้นจะยังไม่ชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ แต่การตัดสินใจที่จะรื้อลงทั้งหมดถือเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญได้แก่การที่เป็นโครงการก่อสร้างในบริเวณใจกลางพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสนามหลวง ศาลหลักเมือง หรือคลองคูเมืองเดิม ซึ่งล้วนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และที่สำคัญที่สุดคืออยู่ใกล้กับวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง โครงการที่มิได้มีการหารือกับกรมศิลปากรในเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และมีการยกเว้นไม่ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ควบคุมความสูงของอาคารที่อาจไปบดบังมรดกวัฒนธรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าข้องใจอย่างยิ่ง
ในวันนี้กรมศิลปากรจึงเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ข้อข้องใจนี้เกี่ยวกับคุณค่าและความเป็นโบราณสถานของอาคารหลังจากที่ทั้งสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมและสมาคมอิโคโมสไทย ได้จัดการเสวนาและมีข้อสรุปที่ระบุถึงคุณค่าที่ต้องรักษาไว้ของอาคารนี้อย่างชัดเจน โดยได้ทำหนังสือแจ้งต่อประธานศาลฎีกาไปแล้ว ซึ่งจากการพบปะกันในวันนี้ก็ได้รับทราบว่า กรมศิลปากรได้พิจารณาแล้วเห็นว่า อาคารศาลยุติธรรมมีคุณค่า และลักษณะครบถ้วนตามคำนิยามของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ จึงจะได้แจ้งไปยังประธานศาลฎีกาว่า อาคารนี้เป็นโบราณสถานของชาติ ที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน ถือว่าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การจะดำเนินการใดใดต้องแจ้งต่อกรมศิลปากร นิติกรของกรมศิลปากรยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่อนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมของตน ประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิ์ที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีนี้ได้
ความจริงสมาคมสถาปนิกสยามฯก็ได้มีความพยายามตั้งคำถามนี้กับสังคมมาตั้งแต่การจัดเสวนาของกรรมาธิการอนุรักษ์ในงานสถาปนิก ๕๑ สืบเนื่องจากโครงการประกวดจัดทำข้อมูลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ และมีกิจกรรมที่แสดงถึงความเห็นคัดค้านการรื้ออาคารศาลฎีกาและก่อสร้างใหม่มาโดยตลอด แต่กระนั้นก็ยังมีคำถามจากกรมศิลปากรย้อนกลับมาบ้างว่า ในเมื่อสมาคมฯไม่เห็นด้วยกับโครงการ และสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารใหม่ก็เป็นสมาชิกของสมาคมฯ เหตุใดจึงไม่มีการดำเนินการภายในสมาคมฯเองให้ตรงจุด เหตุใดจึงต้องอ้างว่าเพราะเกรงใจจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งให้บริการออกแบบ ในขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรท่านนี้ก็เป็นสถาปนิกที่จบการศึกษาจากจุฬาฯ จึงไม่น่าที่จะนำเรื่องของสถาบันมาเกี่ยวข้องกับความถูกผิด
คริสตจักรที่ ๑ เชียงราย เป็นกรณีต่อมาที่เริ่มต้นจากการที่สมาคมฯได้รับแจ้งมาจากโครงการอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ เรื่องเกิดจากการที่ทางคริสตจักรมีโครงการจะฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีของการก่อตั้งด้วยการรื้ออาคารที่กำลังจะมีอายุครบร้อยปีนั้นแล้วสร้างอาคารหลังใหม่ให้ใหญ่โต แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการซ่อมแซมเสริมโครงสร้างที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาช่าง ซึ่งตรงนี้ก็เห็นได้ว่าเป็นอีกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่จะต้องมีการควบคุมทางวิชาชีพในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ที่ไม่ควรจำกัดเฉพาะงานก่อสร้างใหม่ และไม่ควรมีการยกเว้นการตรวจสอบสำหรับอาคารใดใด ไม่ว่าจะเป็นอาคารของรัฐหรือศาสนสถาน ในส่วนที่เกี่ยวกับกรมศิลปากร ก็ได้รับข้อมูลว่าขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่ถูกทางคริสตจักรฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการมาชี้ชัดว่าอาคารคริสตจักรมีคุณค่าเข้าข่ายที่จะเป็นโบราณสถาน ในระหว่างที่เป็นความกันนี้คาดว่าคงจะยังไม่มีการรื้ออาคารโบราณเกิดขึ้น แม้จะมั่นใจว่าจะไม่แพ้คดีแต่ทางกรมศิลปากรก็ไม่ปรารถนาที่จะให้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น อย่างเฉพาะในกรณีของวัดกัลยาณ์ฯ ขณะนี้กรมศิลปากรก็เป็นทั้งโจทก์และจำเลยในหลายคดี อยู่ตรงกลางระหว่างวัดและชุมชน
ในส่วนพื้นที่กุฎีจีนซึ่งต่อเนื่องกับวัดกัลยาณ์ฯ ก็มีกรณีของบ้านวินด์เซอร์และบ้านพาทยะโกศล อาคารทั้งสองหลังถือว่ามีคุณค่าทั้งในทางประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญและด้านสถาปัตยกรรมการตกแต่งที่อาจจะมีในระดับที่แตกต่างกัน แต่ที่มีร่วมกันคือความเสี่ยงที่จะเสื่อมสลายไป เจ้าของบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และเจ้าของที่ดินไม่เห็นคุณค่า แม้ว่ากรมศิลปากรจะเห็นและพยายามที่จะเข้าไปสำรวจจัดทำโครงการซ่อมแซม แต่ด้วยความขัดแย้งต่างๆในอดีตก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เมื่อสมาคมฯมีโอกาสเข้าไปสำรวจจัดทำข้อมูลและเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมแบบ Vernadoc ที่บ้านวินเซอร์ และเป็นตัวกลางที่จะช่วยในการขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่ต้องการคำยินยอมจากโบสถ์ซางตาครู๊สเจ้าของที่ดิน ส่วนบ้านพาทยะโกศลคงจะต้องรอดูคดีต่างๆของวัดกัลยาณ์กันต่อไป
การที่สมาคมทั้งสามได้มีโอกาสได้เข้าพบอธิบดีและข้าราชการในระดับสูงของกรมศิลปากรในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของความร่วมมือ การประสานงานในลักษณะของเครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมกันต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างเต็มที่ต่อมรดกของชาติโดยพวกเราจะช่วยกันสอดส่องดูแล รักษาให้คงอยู่ต่อไป ตามภาระหน้าที่ บทบาทและความถนัดของแต่ละฝ่าย ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน